ในยุคที่ใครๆ ก็ลดการใช้เงินสดลง และมีทางเลือกในการชำระเงินที่ได้รับความนิยมเยอะแยะไปหมด (ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต, Apple Pay หรือ PayPal) การรับชำระเงินในปี 2025 จึงไม่ได้ง่ายเหมือนการเอาธนบัตรไปวางเรียงในลิ้นชักเครื่องคิดเงินอีกต่อไป แล้วคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเงินของลูกค้าจะเข้าบัญชีธุรกิจของคุณล่ะ คำตอบก็คือ คุณต้องใช้บริการบริษัท Payment Processing หรือ ผู้ประมวลผลการชำระเงินนั่นเอง
มาทำความรู้จักกับระบบประมวลผลการชำระเงิน พร้อมสำรวจ 7 บริษัท Payment Processing ผู้ให้บริการประมวลผลการชำระเงินที่เหมาะกับ SME และเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณใช้บริการผู้ประมวลผลการชำระเงินได้อย่างคุ้มค่าที่สุดกัน
Payment Processing สำหรับ SME คืออะไร?
Payment Processing หรือ การประมวลผลการชำระเงินคือฟังก์ชันทางธุรกิจที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายเงินสำหรับสินค้าหรือบริการระหว่างบัญชีธนาคาร เช่น จากบัญชีธนาคารที่เชื่อมโยงกับบัตรเดบิตของลูกค้าไปยังบัญชีร้านค้าของธุรกิจคุณ
SME จำเป็นต้องใช้ผู้ประมวลผลการชำระเงินในการจัดการเงินที่ไม่ใช่เงินสดและเช็ค ซึ่งก็คือบัตรเดบิตและกระเป๋าเงินดิจิทัล อย่าง Apple Pay และ Google Pay ไปจนถึงการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
การประมวลผลการชำระเงินคือบริการที่เป็นหัวใจสำคัญของผู้ค้า นอกจากนี้ บริการสำคัญอื่นๆ ที่ธุรกิจขาดไม่ได้ก็คือ เกตเวย์การชำระเงิน ระบบขายหน้าร้านค้า (POS) และบัญชีร้านค้า
พูดง่ายๆ ก็คือ บริษัท Payment Processing นั้นเรียกได้ว่าเป็นคนกลางระหว่างลูกค้าของคุณ ธนาคารและบริษัทบัตรเครดิตของลูกค้า กับธุรกิจของคุณ
การประมวลผลการชำระเงินมีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ในการประมวลผลการชำระเงิน บริษัท Payment Processing จะดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อเคลื่อนย้ายเงินของลูกค้าเข้าสู่บัญชีธนาคารของคุณ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน ขั้นตอนที่ว่ามีดังนี้
1. ลูกค้าชำระเงินผ่านระบบ POS (หน้าร้าน) หรือเกตเวย์การชำระเงิน (ออนไลน์)
2. บริษัท Payment Processing ได้รับรายละเอียดการชำระเงิน
3. บริษัท Payment Processingส่งข้อมูลการชำระเงินไปยังผู้ให้บริการบัตร
4. ธนาคารที่ออกบัตรตรวจสอบและอนุมัติการชำระเงิน
5. บริษัท Payment Processing ดำเนินการชำระธุรกรรมให้เสร็จสมบูรณ์
ในขั้นตอนสุดท้าย ธนาคารที่ออกบัตรจะโอนเงินของลูกค้าไปยังบัญชีร้านค้าของคุณ ถ้าคุณตั้งใจว่าจะรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต บัญชีร้านค้าจะทำหน้าที่เป็นทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างธนาคารผู้ออกบัตรกับบัญชีธุรกิจของคุณ โดยทั่วไปแล้ว เงินจะถูกพักไว้ในบัญชีร้านค้าเป็นเวลา 2-3 วัน ก่อนที่จะสามารถโอนไปยังบัญชีธุรกิจของคุณได้
ประเภทของบริษัท Payment Processing
บริษัท Payment Processing แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ให้บริการการชำระเงิน (PSP) และผู้ให้บริการบัญชีร้านค้า ข้อแตกต่างหลักๆ ของทั้งสองประเภทนี้จะอยู่ที่วิธีการจัดการบัญชีร้านค้า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ผู้ให้บริการการชำระเงิน (PSP)
PSP จะส่งเงินที่ลูกค้าชำระเข้ามาไปยังบัญชีร้านค้าส่วนกลาง (Aggregate Merchant Account) ซึ่งเป็นบัญชีที่คุณใช้ร่วมกับธุรกิจอื่นๆ ข้อดีคือ PSP นั้นมีขั้นตอนการสมัครที่ง่ายและรวดเร็ว รวมถึงโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่ไม่ซับซ้อน
ถ้าคุณเป็นผู้ค้า Shopify คุณสามารถเปิดใช้งาน Shopify Payments (PSP) ได้อย่างรวดเร็วเพื่อเริ่มต้นรับชำระเงินได้เลย
ผู้ให้บริการบัญชีร้านค้า
ผู้ให้บริการบัญชีร้านค้าจะให้บัญชีร้านค้าแยกต่างหากกับธุรกิจของคุณ แต่ก่อนที่จะได้บัญชีนี้มา ธุรกิจของคุณต้องผ่านการพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อน ซึ่งในการดำเนินการนี้ คุณจะต้องให้ข้อมูลต่างๆ เช่น ขนาดธุรกรรมโดยเฉลี่ย และเวลาจัดส่งสินค้า
แม้ว่าการสมัครกับผู้ให้บริการบัญชีร้านค้าอาจจะดูซับซ้อน แต่ถ้าธุรกิจของคุณมียอดขายสูง การใช้บริการผู้ใช้บริการบัญชีร้านค้ามักจะคุ้มค่ากว่า PSP
สิ่งที่ SME ต้องพิจารณาเวลาเลือกบริษัท Payment Processing
ก่อนตัดสินใจว่า SME ของคุณจะใช้บริการบริษัท Payment Processing เจ้าไหน ให้คุณพิจารณาคุณสมบัติ รูปแบบราคา และการผสานรวมกับระบบเทคโนโลยีที่ร้านค้าใช้ก่อน
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม
ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทที่คุณเลือกใช้ และวิธีที่ลูกค้าใช้ชำระเงิน ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าจ่ายด้วยบัตรเครดิต คุณอาจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมมากกว่าตอนที่ลูกค้าจ่ายด้วยบัตรเดบิตหรือ ACH สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของคุณชอบจ่ายเงินแบบไหน แล้วก็เลือกบริษัท Payment Processing สำหรับ SME ของคุณที่ให้เรทค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม
อีกเรื่องที่ต้องคิดคือ ลูกค้ามักจะจ่ายเงินผ่านช่องทางไหนมากกว่ากัน เนื่องจากบริษัท Payment Processing จะคิดค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันระหว่างการชำระเงินที่หน้าร้านและทางออนไลน์ บางเจ้าอาจจะคิดค่าธรรมเนียมหน้าร้านถูก แต่ค่าธรรมเนียมออนไลน์แพง และบางเจ้าก็อาจจะกลับกัน
โครงสร้างราคา
การพิจารณาว่าโมเดลบริษัท Payment Processing สำหรับ SME ไหนคุ้มค่าที่สุดสำหรับ คุณนั้น ก็ขึ้นอยู่กับมูลค่าและปริมาณของธุรกรรมโดยเฉลี่ย มาดูโครงสร้างราคา 2 แบบที่พบได้บ่อยๆ กัน
- การตั้งราคาแบบอัตราคงที่: คุณจะจ่ายค่าธรรมเนียมคงที่ต่อการชำระเงินแต่ละครั้ง เหมาะกับ SME หรือธุรกิจเล็กๆ ที่มีปริมาณธุรกรรมไม่เยอะ
- การตั้งราคาแบบบวก Interchange: จ่ายโดยบวกอัตราค่าธรรมเนียม Interchange ต่อธุรกรรม ซึ่งอัตรา Interchange นี้ก็แล้วแต่บริษัทบัตรเครดิต ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ราวๆ 2% แม้ว่าโมเดลนี้จะมีค่าธรรมเนียมต่อธุรกรรมอาจจะถูกกว่าแบบคงที่ แต่ส่วนมากจะมีค่าธรรมเนียมรายเดือนเพิ่มเข้ามาด้วย จึงเหมาะกับธุรกิจที่ยอดขายสูงๆ มากกว่า
บริการเสริมและการผสานการทำงานของระบบ
ถ้าคุณทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การมีเกตเวย์การชำระเงินออนไลน์เป็นสิ่งจำเป็น ตัวเลือกที่สะดวกที่สุดคือการใช้บริการบริษัท Payment Processing ที่รวมเกตเวย์ไว้ด้วย เช่น Shopify Payments เพราะจะช่วยให้คุณสามารถรับชำระเงินออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าผู้ให้บริการของคุณไม่ได้มีบริการเกตเวย์ในตัว คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อใช้บริการเกตเวย์จากที่อื่น
ถ้าคุณทำธุรกิจแบบหน้าร้าน ฮาร์ดแวร์ POS คืออุปกรณ์สำคัญที่คุณต้องมี ซึ่งบริษัท Payment Processing มักจะมีบริการให้เช่าหรือขายอุปกรณ์เหล่านี้อยู่แล้ว แต่ถ้าคุณมีระบบ POS อยู่แล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือเลือกผู้ให้บริการที่คุณสามารถใช้งานร่วมกับระบบเดิมของคุณได้ นอกจากนี้ คุณอาจต้องพิจารณาเลือกฮาร์ดแวร์ที่มีฟังก์ชันพิเศษที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ เช่น ระบบจัดการสต็อกสินค้า หรือระบบจัดตารางกะการทำงานสำหรับร้านอาหาร
7 บริษัท Payment Processing สำหรับ SME ยอดนิยม
ผู้ให้บริการ | ค่าธรรมเนียม | โครงสร้างราคา | ค่ารายเดือน |
Shopify | 2.9% + ประมาณ 10 บาท แบบออนไลน์ / 2.6% + ประมาณ 3.5 บาทแบบหน้าร้าน | อัตราคงที่ | เริ่มต้นประมาณ 980 บาทต่อเดือน ชำระเป็นรายปี |
Square | 2.9% + ประมาณ 10 บาท แบบออนไลน์ / 2.6% + ประมาณ 3.5 บาทแบบหน้าร้าน | อัตราคงที่ | ไม่มี, ประมาณ 980 บาทต่อเดือน หรือราคาแบบกำหนดเอง |
Stax | อัตรา interchange + ประมาณ 3 บาทแบบหน้าร้าน / Interchange + ประมาณ 5 บาทแบบออนไลน์ | บวก Interchange | ประมาณ 3,360 - 6,760 บาท |
Stripe | 2.9% + ประมาณ 10 บาท แบบออนไลน์ / 2.7% + ประมาณ 3.5 บาทแบบหน้าร้าน | อัตราคงที่ | ไม่มี |
Payment Depot | อัตรา interchange + 0.2% – 1.95% | บวก Interchange | ไม่มี |
Helcim | สำหรับยอดขายรายเดือนสูงสุดประมาณ 1.7 ล้านบาท, อัตรา interchange + 0.4% + ประมาณ 3 บาทแบบหน้าร้าน; อัตรา interchange + 0.5% + ประมาณ 8.5 บาทแบบออนไลน์ | บวก Interchange | ไม่มี |
Clover | 3.5% + ประมาณ 3.5 บาท แบบหน้าร้านและออนไลน์ | อัตราคงที่ | เริ่มต้นที่ประมาณ 500 บาทต่อเดือน |
มาดูตัวอย่างตัวเลือกระบบประมวลผลการรับชำระเงินที่ SME นิยมใช้กัน
1. Shopify
Shopify มีระบบการชำระเงินของตัวเองชื่อว่า Shopify Payments ซึ่งเป็นทั้งเกตเวย์และตัวประมวลผลการชำระเงิน ที่ร้านค้า Shopify ทุกร้านสามารถใช้งานได้ฟรี เกตเวย์นี้รองรับบัตรเครดิตหลักๆ ทั้งหมด และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เช่น การชำระเงินแบบ 3D Secure การเข้ารหัสข้อมูล บริการลูกค้า 24 ชั่วโมง และมาตรฐาน PCI เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของลูกค้าปลอดภัยแน่นอน ที่สำคัญยังใช้ร่วมกับ Shop Pay ได้ด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราคอนเวอร์ชันได้สูงขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับการชำระเงินแบบไม่เข้าสู่ระบบ (Guest checkout)
สำหรับร้านค้าที่ขายหน้าร้าน Shopify Payments ก็มีอุปกรณ์ POS ให้ด้วย ระบบ POS ของ Shopify มาพร้อมการจัดการสต็อกสินค้าและข้อมูลลูกค้า รวมถึงมีข้อมูลและรายงานการวิเคราะห์ด้วย
คุณสมบัติ
- การตั้งราคาแบบอัตราคงที่
- ฟรี โดยมาพร้อมการสมัครสมาชิก Shopify
- ผสานการทำงานกับ Shopify ได้เต็มระบบ
- มีเกตเวย์การชำระเงินในตัว
- ปฏิบัติตาม PCI DSS เพื่อปกป้องข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อน
- ประมวลผลการชำระเงินระหว่างประเทศในสกุลเงินท้องถิ่นของลูกค้า
- บริการสนับสนุนลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
2. Square
Square คิดค่าบริการแบบคงที่ และมีแพ็กเกจฟรีสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า ส่วนแพ็กเกจที่ราคาประมาณ 980 บาทต่อเดือนนั้นเหมาะสำหรับร้านอาหารและธุรกิจที่ต้องใช้จองหรือนัดหมาย Square เป็นตัวเลือกที่ธุรกิจที่มีหน้าร้านนิยมใช้ ทั้งยังมีอุปกรณ์ POS ให้เลือกมากมาย ทั้งแบบเช่าและแบบซื้อ ราคาอุปกรณ์ก็มีตั้งแต่ฟรีสำหรับเครื่องอ่านบัตรแบบพกพา ไปจนถึงเครื่องคิดเงินราคาประมาณ 27,100 บาท (หรือประมาณ 1,300 บาทต่อเดือน หากผ่อนเป็นเวลา 2 ปี)
คุณสมบัติ
- ค่าบริการคงที่
- ไม่มีค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก
- ระบบ POS
- ออกใบแจ้งหนี้ฟรี
- เครื่องอ่านบัตรแบบพกพาฟรี
- การวิเคราะห์ยอดขายและสินค้าคงคลัง
- โซลูชันซอฟต์แวร์เฉพาะสำหรับร้านค้าปลีกและร้านอาหาร
3. Stax
ถ้า SME ของคุณมียอดขายเยอะ Stax ก็เป็นตัวเลือกที่น่าพิจารณา โดย Stax คิดค่าธรรมเนียมการประมวลผลการชำระเงินแบบบวก Interchange และมีค่าธรรมเนียมรายเดือนตั้งแต่ประมาณ 3,360 บาท ถึง 6,760 บาท ขึ้นอยู่กับยอดขาย ค่าธรรมเนียมธุรกรรมแบบบวก Interchange ของ Stax นั้นเรียกได้ว่าต่ำกว่าค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมแบบอัตราคงที่ของหลายเจ้า แต่คุณก็ต้องมียอดขายที่มากพอจึงจะคุ้มค่าธรรมเนียมรายเดือน แต่คุณจะต้องมียอดขายเพียงพอเพื่อให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายรายเดือน อย่างไรก็ตาม ข้อดีของ Stax คือไม่มีสัญญาผูกมัดระยะยาว
คุณสมบัติ
- ค่าบริการแบบบวก Interchange
- มีค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก
- มีบริการสนับสนุนลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง
- ระบบ POS
- ปฏิบัติตาม PCI
4. Stripe
Stripe มีระบบการคิดค่าบริการแบบอัตราคงที่ ซึ่งเหมาะสำหรับ SME ที่ต้องการระบบประมวลผลการชำระเงินที่ไม่ซับซ้อน ที่สำคัญ Stripe เหมาะกับเจ้าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ต้องการปรับแต่งระบบการชำระเงินของตัวเอง เพราะคุณสามารถเพิ่มแบรนด์ของธุรกิจลงในขั้นตอนการชำระเงิน หรือปรับเปลี่ยนขั้นตอนการชำระเงินเพื่อเพิ่มอัตราคอนเวอร์ชันของอีคอมเมิร์ซได้อีกด้วย นอกจากนี้ Stripe ยังมีอุปกรณ์ POS ให้ธุรกิจที่มีหน้าร้านเลือกใช้
คุณสมบัติ
- ค่าบริการคงที่
- ไม่มีค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก
- มีบริการสนับสนุนลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง
- การวิเคราะห์ยอดขายและสินค้าคงคลัง
- รองรับการชำระเงินระหว่างประเทศมากกว่า 135 สกุลเงิน
- มีระบบเรียกเก็บเงินและออกใบแจ้งหนี้ที่รวมอยู่ในตัว
5. Payment Depot
Payment Depot ใช้ระบบการคิดค่าธรรมเนียมแบบบวก Interchange แต่ราคาก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจของคุณ การสมัครใช้บริการ Payment Depot ไม่ได้ง่ายเหมือนผู้ให้บริการรายอื่นๆ คุณต้องติดต่อกับฝ่ายขายของ Payment Depot เพื่อสอบถามราคาที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ นอกจากนี้ เนื่องจาก Payment Depot เป็นผู้ให้บริการบัญชีร้านค้า คุณจึงต้องผ่านกระบวนการประเมินความเสี่ยงก่อนที่จะได้รับการอนุมัติบัญชี อย่างไรก็ตาม สำหรับ SME ที่มียอดขายสูง Payment Depot อาจเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่า เพราะค่าธรรมเนียมแบบบวก Interchange มักจะถูกกว่าแบบอัตราคงที่นั่นเอง
คุณสมบัติ
- ค่าบริการแบบบวก Interchange
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายเดือน
- มีการสนับสนุนลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง
- ปฏิบัติตาม PCI
6. Helcim
บริษัท Payment Processing สำหรับ SME Helcim คิดค่าธรรมเนียมแบบบวก Interchange แต่สิ่งที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นคือ Helcim ไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการรายเดือน นอกจากนี้ อัตราค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของ Helcim จะยิ่งลดลดถ้าคุณมียอดขายมากขึ้น ดังนั้น Helcim จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตและขยายกิจการในอนาคต Helcim ยังให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำตลอดขั้นตอนการตั้งค่าบัญชีร้านค้า และมีข้อเสนอพิเศษคือ จะจ่ายเงินชดเชยให้ประมาณ 17,000 บาทหากธุรกิจของคุณยังติดสัญญาอยู่กับผู้ประมวลผลการชำระเงินเจ้าอื่น
คุณสมบัติ
- ค่าบริการแบบบวก Interchange
- ไม่มีค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก
- ส่วนลดตามยอดขาย
- ปฏิบัติตาม PCI
- ระบบ POS
7. Clover
Clover เป็นทั้งระบบ POS ที่ทำงานบนคลาวด์และผู้ประมวลผลการชำระเงิน ที่ให้บริการประมวลผลการชำระเงินสำหรับ SME ผ่านบริษัท Fiserv ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Clover
Clover ออกแบบมาสำหรับธุรกิจร้านอาหาร ร้านค้าปลีก และธุรกิจบริการ โดยมีแพ็กเกจที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละประเภทธุรกิจ พร้อมฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การจัดการสต๊อกและการจัดตารางกะพนักงาน ค่าธรรมเนียมสำหรับการชำระเงินที่หน้าร้านของ Clover นั้นก็ต่ำกว่าผู้ให้บริการรายอื่น แต่ค่าธรรมเนียมสำหรับการชำระเงินออนไลน์อาจจะสูงกว่า Clover คิดค่าบริการแบบคงที่ บวกกับค่าบริการรายเดือน และมีส่วนลดสำหรับลูกค้าที่ทำสัญญาผูกมัดระยะยาว
คุณสมบัติ
- ค่าบริการคงที่
- มีค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก
- โซลูชันสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
- การจัดตารางกะพนักงาน CRM และการวิเคราะห์
- ระบบ POS
เคล็ดลับเกี่ยวกับการใช้บริการ บริษัท Payment Processing สำหรับ SME
ปกป้อง SME ของคุณจากการฉ้อโกง
บริษัท Payment Processing เจ้าดังๆ ส่วนใหญ่จะผ่านมาตรฐาน PCI ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง คุณสามารถป้องกันการฉ้อโกงได้หลายวิธี เช่น อัปเดตระบบ POS ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ และเลือกใช้เกตเวย์การชำระเงินที่มีระบบตรวจสอบที่อยู่ (AVS) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลการชำระเงินกับที่อยู่ใบเรียกเก็บเงิน นอกจากนี้ การเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอนจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า มีเพียงบริษัทของคุณเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบัญชีได้ และการตรวจสอบบัญชีธุรกิจของคุณอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อตรวจหาความผิดปกติด้วยเช่นกัน
นำเสนอวิธีการชำระเงินหลายรูปแบบ
ลูกค้าแต่ละรายต่างก็มีวิธีการชำระเงินที่ชอบใช้ ดังนั้น การมีตัวเลือกการชำระเงินที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ลองพิจารณาติดตั้งเกตเวย์การชำระเงินที่รองรับวิธีการชำระเงินออนไลน์ที่นอกเหนือจากบัตรเครดิตและเดบิต เช่น PayPal Express Checkout ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่าน PayPal, Venmo รวมถึง Apple Wallet และ Google Wallet ได้ สำหรับธุรกิจที่มีหน้าร้าน การรับชำระเงินด้วยเงินสด ระบบวอลเล็ต หรือ Promptpay ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ใช้ประโยชน์จากข้อมูล
บริษัท Payment Processing สำหรับ SME รายใหม่ที่คุณใช้บริการจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการชำระเงินของลูกค้ามากมายเลยทีเดียว ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการตัดสินใจลงทุนกับอุปกรณ์ POS ที่เสนอค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง นอกจากนี้ คุณยังสามารถวิเคราะห์ช่วงเวลาที่ลูกค้ามักจะซื้อสินค้า และจำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย
ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้ปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับ SME ของคุณ เช่น คุณสามารถทำการทดสอบ A/B กับโฆษณาป๊อปอัปขณะที่ลูกค้ากำลังชำระเงิน และดูว่าโฆษณาแบบไหนที่ส่งผลให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงโฆษณาของคุณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับบริษัท Payment Processing สำหรับ SME
SME ประมวลผลการชำระเงินอย่างไร
SME ใช้บริการจากบริษัท Payment Processing เพื่อรับชำระเงินจากลูกค้า ผู้ให้บริการเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถรับการชำระเงินแบบที่ไม่ใช่เงินสดได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต หรือกระเป๋าเงินดิจิทัลต่างๆ
เกตเวย์บริษัท Payment Processing สำหรับ SME เจ้าไหนดีที่สุด
สำหรับ SME เกตเวย์การชำระเงินที่แนะนำคือ Shopify Payments, Square และ Stripe นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกอื่นๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น Helcim, Clover และ Payment Depot เป็นต้น
SME จะรับการชำระเงินออนไลน์ได้อย่างไร?
SME สามารถรับชำระเงินออนไลน์ได้โดยใช้บริการของบริษัท Payment Processing ซึ่งรองรับการชำระเงินด้วยบัตรเดบิต บัตรเครดิต การโอนเงินผ่าน ACH และช่องทางการชำระเงินออนไลน์อื่นๆ เช่น PayPal บริษัท Payment Processing แต่ละเจ้าก็จะมีค่าธรรมเนียมและรูปแบบการคิดค่าบริการที่แตกต่างกันไป